Notary Public Thailand

บริการรับรองลายมือชื่อ บริการรับรองคำแปล บริการรับรองสำเนาเอกสาร โดยทนาย Notary Public Call Center 080-5578887 Line Official id : @ilc.ltd Email : notary@ilc.ltd

Notary Public Thailand

What does Notary Public mean?

Notary public means an officer who is accredited by Lawyers Council Under the Royal Patronage and has authority to certify documents that you are going to use outside Thailand. This officer will have separate license from Attorney at Law license. Furthermore, this officer can also translate the document from Thai to English and certify the correctness such as water bill, electricity bill etc.โนตารี พับลิค (Notary Public) หรือ โนตาเรียล เซอร์วิส แอทโทนี่ (Notarial Services Attorney) ในประเทศไทย คืออะไร Notary Public หรือ Notarial services Attorney ในต่างประเทศหมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากทางราชการของประเทศนั้นๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ มีหน้าที่ในการจัดทำสัญญา รับรองลายมือชื่อในเอกสาร ลงชื่อในฐานะเป็นพยานใน เอกสาร รับรองเอกสารนั้นๆ ว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงจากต้นฉบับ ให้ทำคำสาบาน หรือทำหน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้และตามหลักปฏิบัติของประเทศนั้นๆ ส่วนมากเอกสารเหล่านั้นจะนำไปใช้ในต่างปรเทศ หรือสถานฑูตประจำประเทศไทย ในประเทศไทยทนายความที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความ และได้รับอนุญาตให้ทำรับรองลายมือชื่อ และเอกสารจากสภาทนายความ เป็นผู้ทำหน้าที่ Notary Public หรือ Notarial services Attorney โดยสภาทนายความ (The Lawyers council Of Thailand)ได้ออกข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อ และเอกสาร พ.ศ. 2551 และระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความ ผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2552 พร้อมกับเปิดอบรมหลักสูตรทนายความ ผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ให้แก่ทนายความเพื่อเป็นผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อ และเอกสาร

โนตารี พับลิค (Notary Public) หรือ โนตาเรียล เซอร์วิส แอทโทนี่ (Notarial Services Attorney)ในประเทศไทย คืออะไร Notary Public หรือ Notarial services Attorney ในต่างประเทศหมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากทางราชการของประเทศนั้นๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ มีหน้าที่ในการจัดทำสัญญา รับรองลายมือชื่อในเอกสาร ลงชื่อในฐานะเป็นพยานใน เอกสาร รับรองเอกสารนั้นๆ ว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงจากต้นฉบับ ให้ทำคำสาบาน หรือทำหน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้และตามหลักปฏิบัติของประเทศนั้นๆ ส่วนมากเอกสารเหล่านั้นจะนำไปใช้ในต่างปรเทศ หรือสถานฑูตประจำประเทศไทย ในประเทศไทยทนายความที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความ และได้รับอนุญาตให้ทำรับรองลายมือชื่อ และเอกสารจากสภาทนายความ เป็นผู้ทำหน้าที่ Notary Public หรือ Notarial services Attorney โดยสภาทนายความ (The Lawyers council Of Thailand)ได้ออกข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อ และเอกสาร พ.ศ. 2551 และระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความ ผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2552 พร้อมกับเปิดอบรมหลักสูตรทนายความ ผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ให้แก่ทนายความเพื่อเป็นผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อ และเอกสาร


หน้าที่ของ Notary Public หรือ Notarial services Attorney ดังนี้

  • รับรองลายมือชื่อในเอกสาร

  • รับรองนิติกรรมที่เอกชนทำขึ้น

  • รับรองคำแปลเอกสาร

  • รับรองข้อเท็จจริง

  • รับรองสำเนาเอกสาร

  • รับรองความมีอยู่ของเอกสาร

  • จัดทำคำสาบาน

  • จัดทำบันทึกคำให้การ

  • ทำคำคัดค้านตราสาร

  • รับรองตัวบุคคล

  • ทำหน้าที่อื่นที่กฎหมายกำหนด


การปฎิบัติหน้าที่ของทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามแนวทางสภาทนายความ มีดังนี้ ทนายความผู้ทำคำรับรองต้องไม่เลือกปฎิบัติ ปฎิบัติหน้าที่ได้เพียงในฐานะพยานรู้เห็นข้อเท็จจริงเท่านั้น การรับรองลายมือชื่อต้องให้ผู้ลงลายมือ ชื่อมาแสดงตัวต่อหน้า และต้องตรวจสอบเอกสารเพื่อยืนยันตัวบุคคล ทนายความผู้ทำคำรับรองต้องให้ความสำคัญแก่ข้อเท็จจริงและเอกสาร ที่ตรวจสอบยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วไป และต้องไม่เปิดเผยข้อมูล หรือความลับที่ตนได้รับมาเนื่องจากการปฎิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ทำคำรับรอง ดังนั้น การรับรองลายมือชื่อ หรือรับรองเอกสาร หรือจัดทำเอกสารคำรับรองเพื่อนำเอกสารหรือสำเนาเอกสารเหล่านั้นไปใช้ จึงต้องทราบวัตถุประสงค์ ประโยชน์ และหน้าที่ของNotary Public หรือ Notarial Services Attorney จึงจะได้ประโยชน์ ตามความต้องการของผู้รับการรับรอง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ของแต่ละประเทศ from Wikipedia, the free encyclopedia A notary public (or notary or public notary) is a public officer constituted by law to serve the public in non-contentious matters usually concerned with estates, deeds, powers-of-attorney, and foreign and international business. A notary's main functions are to administeroaths and affirmations, take affidavits and statutory declarations,witness and authenticate the execution of certain classes of documents, take acknowledgments of deeds and other conveyances, protest notes and bills of exchange, provide notice of foreign drafts, prepare marine protests in cases of damage, provide exemplifications and notarial copies, and perform certain other official acts depending on thejurisdiction.[1] Any such act is known as a notarization. The term notary public only refers to common-law notaries and should not be confused with civil-law notaries. With the exceptions of Louisiana, Puerto Rico, Quebec, whose private law is based on civil law, and British Columbia, whose notarial tradition stems from scrivener notary practice, a notary public in the rest of the United States and most of Canada has powers that are far more limited than those of civil-law or other common-law notaries, both of whom are qualified lawyers admitted to the bar: such notaries may be referred to as notaries-at-law or lawyer notaries. Therefore, at common law, notarial service is distinct from the practice of law, and giving legal advice and preparing legal instruments is forbidden to law notaries.

บริการทนายความโนตารี พับลิค Notary Public Onsite Service ​

ทนายความโนตารี พับลิค รับรองเอกสาร รับรองลายมือชื่อ รับรองบุคคล รับรองคำแปล รับรองเอกสารเพื่อนำไปใช้ในต่างประเทศ Find a Notary Public in Thailand outside service any where any time as you requested please call us 080-5578887 Line ID: @ilc.ltd บริการด้านรับรองเอกสารของโนตารี พับลิค Notary Public​​


  1. รับรองเอกสารเพื่อบังคับใช้ในอีกประเทศหนึ่ง เพื่อใช้ในต่างประเทศ

  2. รับรองเอกสาร รับรองใบสมัคร เพื่อเรียนต่อต่างประเทศ Affidavit of support /Sponser Notarization

  3. รับรองสำเนาเอกสาร Certified true copy

  4. รับรองสถานะการเงิน Statement Notarization

  5. รับรองคำแปล แปลเอกสาร Certified true translation

  6. รับรองลายมือชื่อ รับรองบุคคล กรรมการนิติบุคคล บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนSignature Notarization and Legalization

  7. รับรองข้อเท็จจริง Marine protest Notary Public

  8. รับรองความมีอยู่จริงของเอกสาร

  9. รับรองการทำสัญญาระหว่างเอกชน Contract Agreement Notary Public

  10. รับรองคำสาบาน Applicant Declaration

  11. รับรองคำให้การ Declaration Notary Public

  12. รับรองหนังสืออนุญาตจากผู้ปกครอง Letter of Authorization for Travel / Custodianship declaration-Parents / Guardians Notary Public

  13. รับรองลายมือชื่อกรรมการ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด เพื่อยื่นต่อกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

  14. อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดอัตราค่าบริการ Notary Public 's Fee

  15. รับรองเอกสารโนตารี พับลิค

  16. รับรองลายมือชื่อ

Welcome to NPT Notary Service!


How can our Notary help you?


Our Notary Service Attorneys, who can speak English fluently, provide notarize services for many kinds of documents.

Our fee is reasonable and fixed at 1,500 baht per each signature.

To save the time of our clients, we offer delivery services.

In the BTS or MRT routes, center of Bangkok, the delivery is free of charge.


For Individuals


Our Notary Service Attorneys can notarize all types of personal documents for use abroad. The most frequently notarized documents are:

  • Notarized international contracts and agreements

  • Notarized Commercial and Personal documents

  • Power of Attorney for use abroad

  • Certified copy of documents as true copies

  • Certified certificates

  • Certified bank documents and letters

  • Property documents for use abroad

  • Legal documents for use abroad

  • A certified copy of passport

  • Open a bank account abroad

  • Buy or sell or transfer a property

  • A translation notarize by a Notary

  • Notarized affidavit

  • Sign an acknowledgement in front of a Notary

  • Witnessed your signature


For Business


Our Notary Notarize all types of corporate or business documents, including:

  • Power of Attorney

  • Documents for companies

  • Affidavit, statements, or declaration

  • Legal translations

  • Certificate of identity of directors or company officers

  • Certificate of Company good Standing

  • Memorandum and Articles of Association

  • Company resolutions, minutes, contracts, and reports


Notary Services

​What services does a Notary Service Attorney provide?


A Notary, or Notary Service attorney, can notarize or witness most documents. You will often require the services of a Notary when you have documents which are needed to be used abroad. The Notary‘s signature and stamp will certify your documents in that country that any relevant checks have been carried out and properly signed. Notarization is often necessary and required especially by both government and private sector such as bank, school, embassy, or private company. Thai Notary Service attorney are given the authority to operate as a Notary Services Attorney in Thailand by the Lawyers Council of Thailand. Hence, no matter what nationality you are, when you required to attest documents or the authentication of signature to use in a foreign jurisdiction, we are always able to assist you.


  • For Individuals

  • For Business


Our Notary Service Attorneys can notarize all types of personal documents for use abroad. The most frequently notarize documents;

  • Notarize private contracts and agreements

  • Power of Attorney for use abroad

  • Certified copy of documents as true copies

  • Certified copy of passport as true copies

  • Certified certificates

  • Certified Bank documents and letters

  • Property documents for use abroad

  • Legal documents for use abroad

We notarize all types of corporate or business documents, including:

  • Power of Attorney

  • Documents for Company, Director and Shareholder

  • Affidavit, statements, or declaration

  • Legal Translations

  • Certificate of identity of directors or company officers

  • Certificate of Company good Standing

  • Memorandum and Articles of Association

  • Company Resolution, minutes, contracts, and reports


NOTE! Notary or Notary Public is an official who is licensed by the State to perform as the authentication of signatures or documents, and the witnessing of affidavits or statements of persons under oath. In most countries, notarization of a document is important as the act of notarization itself creates a guarantee on the authenticity of the document, or to the act of the signatories to the instrument. As Thailand is not a signatory to the Hague Convention on Legalization of Foreign Public Documents yet, there is no Notary Public in Thailand. However, there is a Notary Services Attorney to notarize documents in Thailand (given the authority by the Lawyers Council of Thailand which regulates the practice of Notary services in the State). In some cases, the documents might required to have the notarized document authenticated or legalized further at the Embassy of the country to which the document is to be presented. Notary Services At the Embassy In case you have documents that need to be used in others country, you might need to use the notary services from that embassy. Additionally, you might need to use your own embassy services. Please make sure with your embassy or your lawyer in your country before.

NOTARY PUBLIC

​A notary public (a.k.a. notary or public notary; pl. notaries public) of the common law is a public officer constituted by law to serve the public in non-contentious matters usually concerned with estates, deeds, powers-of-attorney, and foreign and international business. A notary's main functions are to administer oaths and affirmations, take affidavits and statutory declarations, witness and authenticate the execution of certain classes of documents, take acknowledgments of deeds and other conveyances, protest notes and bills of exchange, provide notice of foreign drafts, prepare marine or ship's protests in cases of damage, provide exemplifications and notarial copies, and perform certain other official acts depending on the jurisdiction.[1] Any such act is known as a notarization. The term notary public only refers to common-law notaries and should not be confused with civil-law notaries.[2]

With the exceptions of Louisiana, Puerto Rico, Quebec (whose private law is based on civil law), and British Columbia (whose notarial tradition stems from scrivener notary practice), a notary public in the rest of the United States and most of Canada has powers that are far more limited than those of civil-law or other common-law notaries, both of whom are qualified lawyers admitted to the bar: such notaries may be referred to as notaries-at-law or lawyer notaries. Therefore, at common law, notarial service is distinctly different from the practice of law, and giving legal advice and preparing legal instruments is forbidden to lay notaries such as those appointed throughout most of the United States.

​OVERVIEW

Notaries are appointed by a government authority, such as a court, governor or lieutenant governor, or by a regulating body often known as a society or faculty of notaries public. For lawyer notaries, an appointment may be for life, while lay notaries are usually commissioned for a briefer term, with the possibility of renewal.


In most common law countries, appointments and their number for a given notarial district are highly regulated. However, since the majority of American notaries are lay persons who provide officially required services, commission numbers are not regulated, which is part of the reason why there are far more notaries in the United States than in other countries (4.5 million[3] vs. approx. 740 in England and Wales and approx. 1,250 in Australia and New Zealand). Furthermore, all U.S. and some Canadian notarial functions are applied to domestic affairs and documents, where fully systematized attestations of signatures and acknowledgment of deeds are a universal requirement for document authentication. By contrast, outside North American common law jurisdictions, notarial practice is restricted to international legal matters or where a foreign jurisdiction is involved,[4] and almost all notaries are also qualified lawyers.


For the purposes of authentication, most countries require commercial or personal documents which originate from or are signed in another country to be notarized before they can be used or officially recorded or before they can have any legal effect. To these documents a notary affixes a notarial certificate which attests to the execution of the document, usually by the person who appears before the notary, known as an appearer or constituent (U.S.). In places where lawyer notaries are the norm, a notary may also draft legal instruments known as notarial acts or deeds which have probative value and executory force, as they do in civil law jurisdictions. Originals or secondary originals are then filed and stored in the notary's archives, or protocol.


Notaries are generally required to undergo special training in the performance of their duties. Some must also first serve as an apprentice before being commissioned or licensed to practice their profession. In many countries, even licensed lawyers, e.g., barristers or solicitors, must follow a prescribed specialized course of study and be mentored for two years before being allowed to practice as a notary (e.g., British Columbia, England). However, notaries public in the U.S., of which the vast majority are lay people, require only a brief training seminar and are expressly forbidden to engage in any activities that could be construed as the unlicensed practice of law unless they are also qualified attorneys. Notarial practice is universally considered to be distinct and separate from that of an attorney (solicitor/barrister). In England and Wales, there is a course of study for notaries which is conducted under the auspices of the University of Cambridge and the Society of Notaries of England and Wales. In the State of Victoria, Australia, applicants for appointment must first complete a Graduate Diploma of Notarial Practice which is administered by the Sir Zelman Cowen Centre in Victoria University, Melbourne.

In bi-juridical jurisdictions, such as South Africa or Louisiana, the office of notary public is a legal profession with educational requirements similar to those for attorneys. Many even have institutes of higher learning that offer degrees in notarial law. Therefore, despite their name, "notaries public" in these jurisdictions are in effect civil law notaries.

HISTORY

Notaries public (also called "notaries", "notarial officers", or "public notaries") hold an office that can trace its origins back to the ancient Roman Republic, when they were called scribae ("scribes"), tabelliones forenses, or personae publicae.[5]


The history of notaries is set out in detail in Chapter 1 of Brooke's Notary (13th edition):[6]


The office of a public notary is a public office. It has a long and distinguished history. The office has its origin in the civil institutions of ancient Rome. Public officials, called scribae, that is to say, scribes, rose in rank from being mere recorders of facts and judicial proceedings, copiers and transcribers to a learned profession prominent in private and public affairs. Some were permanent officials attached to the Senate and courts of law whose duties were to record public proceedings, transcribe state papers, supply magistrates with legal forms, and register the decrees and judgments of magistrates.


In the last century of the Republic, probably in the time of Cicero, and apparently by his adoptive son Marcus Tullius Tiro, after whom they were named 'notae Tironianae' a new form of shorthand was invented and certain arbitrary marks and signs, called notae, were substituted for words in common use. A writer who adopted the new method was called a notarius. Originally, a notary was one who took down statements in shorthand using these notes, and wrote them out in the form of memoranda or minutes. Later, the title notarius was applied almost exclusively to registrars attached to high government officials, including provincial governors and secretaries to the Emperor.


Notwithstanding the collapse of the Western Empire in the 5th century AD, the notary remained a figure of some importance in many parts of continental Europe throughout the Dark Ages. When the civil law experienced its renaissance in medieval Italy from the 12th century onwards, the notary was established as a central institution of that law, a position which still exists in countries whose legal systems are derived from the civil law, including most of Europe and South America. The office of notary reached its apogee in the Italian city of Bologna in the twelfth century, its most distinguished scion being Rolandino Passeggeri generally known as Rolandino of Bologna, who died in 1300 AD, whose masterwork was the Summa Artis Notariae.


The separate development of the common law in England, free from most of the influences of Roman law, meant that notaries were not introduced into England until later in the 13th and 14th centuries. At first, notaries in England were appointed by the Papal Legate. In 1279 the Archbishop of Canterbury was authorized by the Pope to appoint notaries. Not surprisingly, in those early days, many of the notaries were members of the clergy. In the course of time, members of the clergy ceased to take part in secular business and laymen, especially in towns and trading centers, began to assume the official character and functions of a modern common law notary.


The Reformation produced no material change in the position and functions of notaries in England. However, in 1533 the enactment of "the Act Concerning Peter's Pence and Dispensations" (the Ecclesiastical Licences Act 1533) terminated the power of the Pope to appoint notaries and vested that power in the King who then transferred it to the Archbishop of Canterbury who in turn assigned it to the Court of Faculties and the Master of the Faculties.


Traditionally, notaries recorded matters of judicial importance as well as private transactions or events where an officially authenticated record or a document drawn up with professional skill or knowledge was required.

A collection of articles on notary history, including Ancient Egypt, Phoenicia, Babylonia, Rome, Greece, medieval Europe, the Renaissance, Columbus, Spanish Conquistadors, French Louisiana, New England colonial notaries, Republic of Texas notaries and Colorado Old West notaries, is available in the notary history section of the Colorado Notary Blog at the following link.[7]

COMMON LAW JURISDICTIONS

The duties and functions of notaries public are described in Brooke's Notary on page 19 in these terms:


Generally speaking, a notary public [...] may be described as an officer of the law [...] whose public office and duty it is to draw, attest or certify under his/her official seal deeds and other documents, including wills or other testamentary documents, conveyances of real and personal property and powers of attorney; to authenticate such documents under his signature and official seal in such a manner as to render them acceptable, as proof of the matters attested by him, to the judicial or other public authorities in the country where they are to be used, whether by means of issuing a notarial certificate as to the due execution of such documents or by drawing them in the form of public instruments; to keep a protocol containing originals of all instruments which he makes in the public form and to issue authentic copies of such instruments; to administer oaths and declarations for use in proceedings [...] to note or certify transactions relating to negotiable instruments, and to draw up protests or other formal papers relating to occurrences on the voyages of ships and their navigation as well as the carriage of cargo in ships." [Footnotes omitted.]


A notary, in almost all common law jurisdictions other than most of North America, is a practitioner trained in the drafting and execution of legal documents.[citation needed] Notaries traditionally recorded matters of judicial importance as well as private transactions or events where an officially authenticated record or a document drawn up with professional skill or knowledge was required. The functions of notaries specifically include the preparation of certain types of documents (including international contracts, deeds, wills, and powers of attorney) and certification of their due execution, administering of oaths, witnessing affidavits and statutory declarations, certification of copy documents, noting and protesting of bills of exchange, and the preparation of ships' protests.


Documents certified by notaries are sealed with the notary's seal or stamp and are recorded by the notary in a register (also called a "protocol") maintained and permanently kept by him or her. These are known as "notarial acts". In countries subscribing to the Hague Convention Abolishing the Requirement of Legalization for Foreign Public Documents or Apostille Convention, only one further act of certification is required, known as an apostille, and is issued by a government department (usually the Foreign Affairs Department or similar). For countries which are not subscribers to that convention, an "authentication" or "legalization" must be provided by one of a number of methods, including by the Foreign Affairs Ministry of the country from which the document is being sent or the embassy, Consulate-General, consulate or High Commission of the country to which it is being sent.

มารู้จักทนายรับรองเอกสาร (NOTARY PUBLIC) กัน

​เคยไหมครับ เวลาที่คุณจะขอวีซ่าหรือทำธุรกรรมบางอย่างที่ต่างประเทศแล้วคุณต้องส่งเอกสารไป ทางสถานทูตรหรือทางหน่วยงานที่คุณต้องการทำธุรกรรมด้วยจะขอให้คุณนำเอกสารไปให้ทนายความหรือโนตารีพลับลิครับรองเอกสารเสียก่อน ซึ่งก็มีหลายคนสงสัยว่า Notarial Services Attorney คือใครและมีหน้าที่ทำอะไร ? และทำหน้าที่ต่างกับ Notary Public (โนตารี พลับลิค) หรือไม่ ? และจะหาบุคคลที่ทำหน้าที่ Notarial Services Attorney ในประเทศไทยได้ที่ไหน? วันนี้ เราขอแนะนำ “ทนายความผู้รับรองเอกสารและลายมือชื่อ (Notarial service attorney)” ครับ

ในหลายๆประเทศ โนตารี่ พับลิค คือทนายความชนิดพิเศษอย่างหนึ่งที่มีใบอนุญาต ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับรองเอกสาร (Notarization) หรือเป็นพยานในคำให้การ หรือการให้ปากคำโดยการสาบาน งานของโนตารี่พับลิคเป็นประโยชน์มากเมื่อบุคคลที่ได้รับเอกสาร, คำให้การ, หรือให้ปากคำที่รับรองโดยโนตารี่พับบลิค บุคคลนั้นจะยอมรับเอกสารนั้นว่าเป็นของแท้ เพราะได้รับการรับรองจากคนกลางที่มีใบอนุญาตซึ่งรับประกันเอกสารนั้น เอกสารที่รับรองโดยโนตารี่พับลิคนี้ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลและหน่วยงานราชการ

นอกจากนั้น การทำนิติกรรมและธุรกรรมต่างๆ ของคนที่อยู่กันต่างประเทศกัน ซึ่งมีความจำเป็นต้องส่งเอกสารไปมาระหว่างกัน เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจนั้นๆรวมถึงความจำเป็นที่ต้องมีการแปลเอกสารจาก ภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจและบังคับใช้ได้ในอีกประเทศหนึ่งนั้น จำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้ดีและมีผู้ยอมรับนับถือในความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ในการมาเป็นผู้รับรองความมีอยู่จริงของเอกสาร ความถูกต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของเอกสาร รวมถึงความแท้จริงของเจตนาของผู้ที่ลงนามในเอกสารเมื่อผู้รับรองได้รับรอง แล้ว และได้ส่งไปใช้ในอีกประเทศหนึ่ง ผู้รับก็จะเกิดความมั่นใจ แม้ว่าเอกสารนั้นตนอาจจะไม่ได้มีส่วนทำขึ้น และไม่ได้ลงนามต่อหน้าตนเองก็ตาม นั่นคือ หน้าที่ของ โนตารี พลับลิค (Notary Public) นั่นเอง

ในต่างประเทศหลายๆประเทศมักจะมีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยโนตารี พลับลิค ซึ่งกำหนดอำนาจหน้าที่ ลักษณะของงานที่จะต้องทำโดยโนตารี พลับลค ค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บ รวมถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นโนตารี พลับลิค ข้อบังคับ จรรยาบรรณ และบทลงโทษกรณีทุจริตหรือปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง

ในประเทศไทย สภาทนายความได้มีการประกาศข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการขึ้น ทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ.๒๕๕๑ โดยทนายผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารในประเทศไทยเรียกว่า “Notarial Services Attorney” ซึ่ง ทนายความที่ได้รับใบอนุญาตผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารจากสภาทนายความ จะทำหน้าที่รับรองลายมือชื่อที่มีการลงชื่อต่อหน้าในเอกสารนั้นๆ หรือรับรองสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงจากต้นฉบับ หรือทำคำรับรองประเภทอื่นๆ รวมทั้งการลงชื่อในฐานะเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านั้นด้วย

ทั้งนี้ โดยส่วนมากแล้วจะนำเอกสารเหล่านั้นไปใช้ในต่างประเทศหรือใช้ที่สถานทูตต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เป็นต้น

ดังนั้น การทำหน้าที่ของ Notarial Services Attorney จึงไม่แตกต่างไปจากการทำหน้าที่ของ Notary Public ในต่างประเทศ แต่อย่างใดครับ

สำหรับทนายความทั่วๆไปที่ไม่มีใบอนุญาตในการทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร จึงไม่เรียกว่าเป็น Notarial Services Attorney

ขอบเขตการทำงานของ NOTARIAL SERVICES ATTORNEY

  1. รับรองลายมือชื่อ

    • รับรองลายมือชื่อบุคคลหรือผู้แทนนิติบุคคลที่ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้า ว่าผู้จะลงลายมือชื่อเป็นบุคคลนั้นจริง

    • รับรองตัวบุคคล

    • รับรองฐานะนิติบุคคล

    • รับรองตำแหน่งและอำนาจของผู้ลงลายมือชื่อ

  2. รับรองเอกสาร

    • รับรองความถูกต้องของการแปลเอกสาร

    • รับรองภูมิลำเนาหรือที่อยู่ของบุคคล

    • รับรองภาพถ่ายบุคคลที่เป็นบุคคลๆเดียวกัน

    • รับรองสำเนาเอกสารว่าถูกต้องตรงกันกับต้นฉบับ

    • ลงนามเป็นพยานในเอกสารนั้นๆ

    • รับรองใบสำคัญ

    • รับรองการจัดทำเอกสารในนามของบริษัท

  1. จัดทำเอกสารอื่นๆ

    • ทำคำสาบานที่เกี่ยวข้องกับพยานวัตถุหรือเอกสาร

    • ทำบันทึกคำให้การที่ต้องมีคำสาบาน

    • ทำคำบันทึกหมายเหตุแนบท้ายเอกสารต่างๆ

    • ทำคำคัดค้านตราสาร


ตัวอย่างการรับรองเอกสารของ Notarial Service Attorney


ตัวอย่างที่ 1

นาย ก คนออสเตรเลียมีความต้องการที่จะขายบ้าน แต่ตนเองอยู่ในประเทศไทย โดยต้องการที่จะมอบอำนาจให้ทนายความของตนที่ประเทศออสเตรเยียจัดการให้และลงนามในหนังสือมอบอำนาจ เช่นนี้นาย ก ต้องนำหนังสือมอบอำนาจ มาลงนามต่อหน้า Notarial Service Attorney เพื่อให้ทนายความรับรองเอกสาร ทำหน้าที่ออกเอกสารยืนยันว่า นายก เดือนทางมาลงนามต่อหน้าและลายมือชื่อที่ลงในหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นลายมือชื่อของนาย ก จริง


ตัวอย่างที่ 2

บริษัทเอ ต้องการจดเครื่องหมายการค้าที่ประเทศจีนและฮ่องกง จึงต้องลงนามในหนังสือมอบอำนาจส่งให้เจ้าหน้าที่ (Agent) ที่ปรเทศดูไบทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว บริษัท เอ โดยกรรมการผู้มีอำนาจจึงต้องลงนามและประทับตราลงบนหนังสือมอบอำนาจต่อหน้าทนายความรับรองเอกสาร เพื่อนำหนังสือมอบอำนาจไปใช้ที่ประเทศจีนและฮ่องกง


​ตัวอย่างที่ 3

นาง ข (คนไทย) จดทะเบียนสมรสกับ นายแอนดรู (คนอังกฤษ) ต้องการนำสัญญาก่อนสมรสและทะเบียนสมรสไปใช้รับรองการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของประเทศอังกฤษด้วย จึงนำสัญญาก่อนสมรสและสำเนาทะเบียนสมรส มาให้ทนายความรับรองเอกสารเพื่อรับรองว่าสัญญาก่อนสมรสนั้นทำขึ้นที่ประเทศไทยจริง รวมถึงทะเบียนสมรสเป็นเอกสารที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของไทยจริง เสียก่อน จึงสามารถนำไปใช้ที่ประเทศอังกฤษได้

ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อเอกสาร คืออะไร?

ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร หรือที่ใช้กันเป็นภาษาต่างประเทศว่า Notarial Services Attorney ครับ หลายๆ ท่านอาจคุ้ยเคยดีอยู่แล้วหรือหากไม่เคยทำธุรกรรมกับต่างประเทศหรือทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับเอกสารในหน่วยงานราชการ อาจจะไม่คุ้นเคยกัน


บุคคลที่เรียกว่าทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ในบ้านเรานั้น คือทนายความผู้ได้รับการฝึกอบรม การเป็น ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้มีสิทธิในการเป็นบุคคลผู้ทำการรับรองลายมือชื่อบุคคลและเอกสารต่างๆ ในต่างประเทศนั้น จะเรียกบุคคล เหล่านี้ว่า โนตารี พับบลิค (Notary Public) ซึ่งเป็นอาชีพในสาขาวิชาชีพแขนงหนึ่ง ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบสูงและอยู่ภายใต้องค์กร หรือกฎหมายของประเทศนั้นๆ ที่เข้ามากำกับดูแลจรรยาบรรณการทำงาน ในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีกฎหมายเรื่องเกี่ยวกับวิชาชีพ โนตารี พับบลิค แต่เนื่องจากการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการหรือกับองค์กรต่างประเทศนั้น จำเป็นต้องมีผู้ทำคำรับรองบุคคลและเอกสาร สภาทนายความจึงได้มีการฝึกอบรมทนายความซึ่งเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือ ให้มีความสามารถในการรับรองเอกสารและตัวบุคคลและเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ

ตัวอย่างของการลงนามโดยทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร เช่น กรณีที่มีการลงนามในประเทศไทย แต่เอกสารเหล่านี้จะต้องนำไปใช้ในต่างประเทศ แล้วจะทำอย่างไรให้ชาวต่างชาติมั่นใจและยอมรับว่าลายมือชื่อที่อยู่ในเอกสารนั้นเป็นของผู้ลงนามในเอกสารนั้นจริง ก็ด้วยการที่ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ทำการลงนามรับรองว่า เป็นการลงนามโดยบุคคลนั้นจริง การที่ไม่ได้ทำการรับรองโดยทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร อาจทำให้เอกสารที่ประสงค์จะไปใช้ที่ต่างประเทศนั้นไม่เป็นที่ยอมรับและอาจเสียเปล่าได้

การรับรองโดย NOTARY PUBLIC ให้ผล 4 อย่าง ดังนี้

  1. มีผลในฐานะพยานหลักฐาน

  2. มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

  3. มีผลสามารถบังคับใช้ได้

  4. มีผลบังคับใช้นอกเขตท้องที่

NOTARY PUBLIC หรือ โนตารี่ พับลิค คืออะไร

ในต่างประเทศ โนตารี่ พับลิค หรือ Notary Public คือ บุคคลที่กฎหมายของประเทศนั้น ๆ บัญญัติไว้ให้ทำหน้าที่ในการรับรองลายมือชื่อ จัดทำสัญญา ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเพื่อรับว่าเอกสารนั้น ๆ ถูกต้องตรงกันกับต้นฉบับ หรือทำหน้าที่อื่น ๆ ที่กฎหมายของประเทศนั้น ๆ กำหนดไว้ โดยเอกสารที่ผ่านการรับรองนี้จะถูกนำไปใช้ในที่ต่างประเทศ (กรณีใช้ภายในประเทศไม่จำต้องผ่านการรับรอง) ผู้ที่จะให้บริการรับรอง Notary Public ได้นั้น จะต้องเป็นคนกลางที่มีใบอนุญาตในการรับรองเอกสาร เป็นคนที่ยอมรับกันว่ามีวุฒิภาวะ ได้แก่ทนายความหรือนักกฎหมาย และมีหน้าที่ให้บริการลงลายมือชื่อในฐานะพยานเอกสารเพื่อรับรองว่าเอกสารนั้นมีความถูกต้องหรือผู้ลงนามเซ็นต์เอกสารนั้นมีตัวตนจริงๆ เพื่อให้เกิดความเชื่อถือและเชื่อมั่นระหว่างผู้ใช้เอกสารทั้งสองฝ่ายในการทำธุรกรรมระหว่างกัน เพราะเอกสารที่ได้รับการรับรองโนตารี่ พับลิคจะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง จากทั้งหน่วยงานเอกชน หน่วยงานรัฐบาล และหน่วยงานราชการในหลายๆประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

ในประเทศไทยมีบุคคลที่เป็นโนตารี่ พับลิค หรือ NOTARY PUBLIC หรือไม่

ประเทศไทยมีบุคคลที่ทำหน้าที่เหมือนกับ Notary Public ในต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งบุคคลในประเทศไทยที่จะทำหน้าที่ บริการ Notary Public ได้นั้นต้องเป็นทนายความที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความแห่งประเทศไทยเท่านั้น เรียกว่า Notarial Services Attorney

Notarial Services Attorney เป็นทนายความสังกัดอยู่ในสำนักงานกฎหมายทั่วไป ซึ่งผ่านการอบรมในหลักสูตรการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ที่จัดอบรมโดยสภาทนายความแห่งประเทศไทย ที่ได้รับใบอนุญาต และขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองและลายมือชื่อและเอกสารเรียบร้อยแล้ว

จรรยาบรรณของผู้ที่ให้บริการโนตารี่ พับบิค NOTARY PUBLIC

  1. เที่ยงตรง ไม่เลือกปฏิบัติ ให้การรับรองเอกสารหรือข้อเท็จจริงตามความเป็นจริง ไม่เลือกทำหน้าที่โอนเอียงเพียงเพราะเอกสารนั้นเป็นของคนที่มีชื่อเสียง มีคนนับถือตา เป็นคนที่รู้จัก หรือไม่รู้จัก

  2. ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง ทำหน้าที่โดยสุจริตเป็นไปตามกฎระเบียบที่วางไว้ ไม่เห็นแก่ผลตอบแทนนอกระบบ ให้บริการตามลำดับการว่าจ้าง ไม่มีการลัดคิว

  3. ละเอียดรอบคอบ ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเอกสาร และความต้องการของบุคคลที่ลงลายมือชื่อ ว่ามีความถูกต้อง ตรงกับความต้องการที่แท้จริงหรือไม่ รวมถึง อธิบายให้เห็นถึงความสำคัญ และชี้แจงให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นให้กับคนที่ลงลายมือชื่อหรือให้คำสาบาน

  4. ไม่รับรองคำเท็จ ผู้ที่มีหน้าที่ให้บริการ Notary Public จะไม่รับรองเอกสารที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือเป็นเท็จ ต้องให้ความสำคัญและรับรองให้กับเอกสารที่มีความถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์เท่านั้น และต้องเก็บบันทึก รวมถึงสำเนาเอกสารการปฏิบัติหน้าที่ไว้ในที่ปลอดภัยทุกรายการ

  5. ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นนอกเหนือจากตัวเองใช้ตราประทับ ดวงตราประทับไม่อาจส่งต่อให้ใครใช้ต่อได้ ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ให้บริการ Notary Public ต้องดูแลดวงตราที่ใช้รับรองลายมือชื่อไว้เป็นอย่างดี

  6. ปกปิดข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ที่ทำหน้าที่ให้บริการ Notary Public จะต้องเคารพสิทธิส่วนบุคคล ไม่นำข้อมูลส่วนตัวหรือเอกสารของผู้มาขอใช้บริการไปเผยแพร่ต่อ

  7. ทำหน้าที่เมื่อได้รับการร้องขอ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการ Notary Public จะมีขึ้นเมื่อผู้ขอใช้บริการมาร้องขอให้ทำหน้าที่ หรือต้องปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น


เอกสารอะไรบ้างที่ต้องได้รับการรับรองแบบโนตารี่ พับลิค NOTARY PUBLIC

​เอกสารทางราชการหรือการลงลายมือชื่อของบุคคลในเอกสารทางราชการนั้น จะต้องได้รับการรับรองโดยกงสุล ส่วนเอกสารที่ต้องรับรองโดยโนตารี่ พับบิค หรือ Notary Public หรือ Notarial Services Attorney นั้น หน่วยงานปลายทางที่ต้องการใช้เอกสาร จะระบุมาว่าต้องผ่านการรับรองโดย Notary Public ซึ่งจะเป็นเอกสารทั่วไป เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานเอกชน เอกสารเกี่ยวกับข้อเท็จจริง คำให้การ การลงลายมือชื่อ เอกสารคำร้อง หรือการแสดงให้เห็นถึงความมีอยู่จริงของเอกสาร ได้แก่

  1. เอกสารเพื่อบังคับใช้ในอีกประเทศหนึ่ง เพื่อใช้ในต่างประเทศ

  2. ใบสมัครเรียนต่อต่างประเทศ

  3. เอกสารเกี่ยวกับสถานะการเงินหรือรายการเดินบัญชี (Statement)

  4. เอกสารคำแปลเอกสาร

  5. สำเนาเอกสาร

  6. ลายมือชื่อ รับรองบุคคล กรรมการนิติบุคคล บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน

  7. ข้อเท็จจริง

  8. รับรองความมีอยู่จริงของเอกสาร

  9. รับรองการทำสัญญาระหว่างเอกชน

  10. รับรองคำสาบาน

  11. รับรองคำให้การ

  12. รับรองหนังสืออนุญาตจากผู้ปกครอง

  13. รับรองลายมือชื่อกรรมการของบริษัท

  14. อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด


เลือกใช้บริการบริษัท NOTARY PUBLIC อย่างไรดี

  1. เลือกบริษัทที่มีทนายความที่ผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความแห่งประเทศไทย ที่สามารถทำหน้าที่ Notarial Services Attorney ได้จริง ๆ จึงทำให้มั่นใจว่าเอกสารที่ผ่านการรับรองแล้วนั้น สามารถนำไปใช้งานได้จริง ถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับการยอมรับ

  2. เลือกบริษัทที่ Notarial Services Attorney มีจรรยาบรรณสูง การที่ Notarial Services Attorney มีจรรยาบรรณครบทั้ง 7 ข้อตามด้านบนนั้น บ่งบอกได้ว่าจะสามารถทำหน้าที่คนกลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้

  3. เลือกบริษัทที่ให้บริการ Notary Public มีที่ตั้งอยู่จริงและเดินทางสะดวก เนื่องจากการที่จะให้ผู้มีใบอนุญาต Notary Public หรือ Notarial Services Attorney รับรองเอกสารนั้น เจ้าของเอกสารและผู้เกี่ยวข้องในเอกสารต้องลงลายมือชื่อในเอกสารก่อน หลังจากนั้น Notarial Services Attorney จึงลงตราประทับและลงลายมือชื่อรับรอง การที่บริษัทที่ให้บริการ Notary Public อยู่ใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงาน หรือเดินทางสะดวก ก็จะง่ายในการเข้าไปติดต่อและใช้บริการ

  4. Notary Public มีความเชี่ยวชาญสูง การที่เอกสารนั้นได้ผ่านการรับรองลายมือชื่อ รับรองเอกสาร หรือจัดทำโดย Notarial Services Attorney ที่มีประสบการณ์สูง จะส่งผลต่อความถูกต้องและความครบถ้วนของเอกสาร เอกสารแปลมีความน่าเชื่อถือ ทำให้หน่วยงานหรือคนที่ได้รับเอกสารแปลนั้นมีความมั่นใจในเอกสาร ว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้อง และมีอยู่จริง เพราะ Notary Public ที่มีความเชี่ยวชาญจะทำตามจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด ทำหน้าที่ตรงไปตรงมา ละเอียดรอบคอบ และจะไม่รับรองเอกสารเท็จ

  5. หากเป็นการรับรองคำแปล โนตารี่ต้องเข้าใจภาษาอังกฤษด้วย เนื่องจากหากไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ ก็จะทำการรับรองมั่วๆไป ซึ่งอาจเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ เราจึงขอแนะนำให้บริการรับบริษัทที่มีเจ้าหน้าที่โนตารี่ พับลิค ที่เข้าใจหรือแปลภาษาอังกฤษได้ด้วย หากคุณต้องการแปลเอกสารจำพวกสัญญา เราขอแนะนำเลือกใช้บริการที่เรา เนื่องจากทนายเรามีความเชื่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษด้วย


สรุป

บุคคลหรือบริษัทที่ให้บริการรับรองโนตารี่ พับลิค หรือ Notary Public นั้น มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านักแปลภาษา นักแปลภาษาทำหน้าที่การแปลสารข้อมูลที่เป็นตัวอักษรจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง มีเป้าหมายเพื่อหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างสองภาษา แต่ผู้ให้บริการโนตารี่ พับลิค หรือ Notary Public ทำหน้าที่รับรองเอกสาร เพื่อให้เกิดความเชื่อถือเชื่อมั่นว่าเอกสารมีความถูกต้องและมีอยู่จริง ทำให้คนทำธุรกรรมหรือนิติกรรมทั้งสองฝ่ายเกิดความมั่นใจ สำหรับการโนตารี่เพื่อรับรองคำแปลนั้น แม้เอกสารแปลจะมีคุณภาพและความถูกต้องสูงขนาดไหน แต่เอกสารงานแปลนั้นจะนำไม่ใช้งานจริงไม่ได้เลย ถ้าเอกสารนั้นไม่ผ่านขั้นตอนการรับรองจากคนกลาง ที่ทั่วโลกให้ความเชื่อถือ นั่นก็คือ Notary Public ซึ่งบุคคลผู้นี้ในประเทศไทยก็คือ Notarial Services Attorney หรือทนายความผู้รับรองเอกสารและลายมือชื่อนั่นเอง แต่ถึงอย่างไรก็ดี งานแปลเอกสารจะขาดนักแปลภาษาหรือ Notary Public บุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่ได้เลยเช่นกัน